ผศ.ดร.ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์
ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เรียกชื่อได้หลายชื่อ อาทิ โรคไข้รากสาดพุ่มไม้ หรือโรคไข้รากสาดไรอ่อน (Chigger,ไรอ่อน หรือไรแดง เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียริกเก็ตเซีย (Rickettsia)โดยมีเห็บ เหา หมัด โลน ไร เป็นพาหะ ส่วนใหญ่จะเป็นตัวอ่อนของไรอ่อน (สายพันธุ์ Leptotrombidium akamushi และ Leptotrombidium deliense)โรคนี้พบในทุกภาคของประเทศไทย แต่พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่าง 8-12 รายต่อประชากร 1 แสนคน
การเกิดโรคสครัปไทฟัสเริ่มจากตัวอ่อนไรอ่อน (Larva) ที่มีเชื้ออยู่กัดคน น้ำลายของไรอ่อนมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายเซลล์ จะย่อยสลายเซลล์ผิวหนังให้เกิดเป็นแผลหนังตาย สีดำคล้ำคล้ายถูกบุหรี่จี้ เรียกว่า Eschar lesion (แผลไรกัด หรือ หนังตายล่อน อาจพบได้ตามที่ร่มผ้า เช่น รักแร้ ขาหนีบ) ทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังที่อยู่โดยรอบเนื้อตายจะบวมแดง ผู้ป่วยมีไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโตและเจ็บ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ๆกับแผล อาจมีไอแห้ง มักพบผื่นลักษณะ Maculopapular และหายเองใน 2-3 วัน ในบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ซึม สมองอักเสบ ปอดบวม ตัวและตาเหลือง ผู้ป่วยมักมีประวัติเที่ยวหรือเข้าไปในทุ่งหญ้าหรือป่า 6-18 วันก่อนมีอาการ (ICD-10: A 75.31)
ดังนั้น หากท่านมีอาการไข้ รับประทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลง ควรรีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาลภายใน 1-2 วัน โดยเฉพาะในผู้สูง อายุ และในคนมีโรคประจำตัว
เวลาไปท่องเที่ยวป่า จำเป็นต้องทำงาน หรือกิจกรรมเกี่ยวป่า พุ่มไม้ ควรป้องกันตนเอง อาทิ สวมใส่เสื้อผ้า กางเกงแขน/ขายาว สวมถุงน่อง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นให้มิดชิด เสื้อควรปิดคอ ใส่ชาย เสื้อไว้ในกางเกง ทายาป้องกันแมลง ไม่นั่ง นอนบนหญ้า ฝาง นานๆ หรืออยู่ใกล้ อยู่ใต้ต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ยๆ เป็นต้น
ขอบคุณภาพ
ไรแดง :
http://kpi.msu.ac.th/…/ag_…/ag_19_in_1.2.5_257%282561%29.pdf
Escar lesions:
http://medinfo.psu.ac.th/pr/MedBoard/readboard.php?id=856